วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554

16 ธันวาคม ..วันกีฬาแห่งชาติ...

                
 

               ย้อนหลังจากวันนี้เมื่อ 44 ปี ที่ผ่าน มา นั่นก็คือ ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาแหลมทองครั้งที่ 4 (กีฬาซีเกมส์ ในปัจจุบัน ) ระหว่างวันที่ 9 - 16 ธันวาคม 2510 ณ สนามศุภชลาศัย สนามกีฬาแห่งชาติ ที่กรุงพมหานคร ซึ่งการแข่งขันครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลเดชมหาราช และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตน์ ฯ ทั้งสองพระองค์ได้ทรงเข้าร่วมทำการแข่งขันในนามตัวแทนประเทศไทยกีฬาระดับนานาชาติเยี่ยงนักกีฬาทั่วไป ในกีฬาประเภทเรือใบ โอ เค ซึ่งทำการแข่งขันระหว่างวันที่ 11 - 13 ธันวาคม 2510 ณ อ่าวพัทยา จ.ชลบุรี ผลการแข่งขัน เป็นดังนี้
พระบาทสมเด็จพระจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตน์ ฯ ทรงมีคะแนนเท่ากัน คือ -6 คะแนน อันดับ 2 มาเลเซีย อันดับ 3 พม่า
คณะกรรมการจัดการแข่งขันมีมติถวายชนะเลิศทั้ง สองพระองค์ รองชะนะเลิศอันดับหนึ่ง มาเลเซีย รองชนะเลิศอันดับสอง พม่า
               และมีการมอบเรียญเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2510 ซึ่งวันนั้นได้กลายเป็นประวัติศาสตร์ของวงการกีฬาแห่งประเทศไทย เพราะวันที่ 16 ธันวาคม ได้ถูกกำหนดให้เป็นวันกีฬาแห่งชาติมาจนถึงปัจุบัน
อนึ่ง...เมื่อพระองค์ทรงโปรดกีฬาทางน้ำและเห็ว่าเป็นกีฬาที่มีประโยชน์แต่อุปกรณ์ค่อนข้างแพง ก็ได้ศึกษาและออกแบบเอาแบบที่ถูกที่สุด คือ เรือมด ชาวต่างชาติเรียกว่าเรือโมท ( Moth ) พระองค์ท่านออกแบบและประดิษฐ์เองจนสมบูรณ์แบบและเป็นที่ยอมรับของทั่วโลกพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลเดชมหาราช พระองค์ท่านทรงให้ความสนพระทัยเกี่ยวกับการกีฬาเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งทรงเล็งเห็นว่า การกีฬาเนสิ่งจำเป็นและเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการัฒนาบุคคล พฒนาประเทศชาติ ดังจะเห็นได้จากพระองค์ท่านทรงโปรดกีฬามากมายหลายชนิด เช่น แบดมินตัน สกีน้ำ กรรเชียงเรือ เรือใบ พระแสงปืน แข่งรถเล็ก กอล์ฟเล็ก เป็นตัน รวมทั้งพระราชดำรัสเกี่ยวกับกีฬาเนื่องในโอกาสสำคัญ ๆ ซึ่งมีประโยชน์คุณาประการต่อวงการพกีฬาและประเทศชาติอย่างใหญ่หลวง ในที่นี้จะขออัญพระราชดำรัสเกี่ยวกับการกีฬาเนื่องในวโรกาสต่าง ๆ ดังนี้


                 เนื่องในวันกีฬาแห่งชาติ เมือ่ 28 พฤศจิกายน 2531
               "ในหลักการกีฬาเป็นส่งที่สิ่งที่มีจุดประสงค์พื้นฐาน เอที่จะส่งเสริมให้ร่างกายแข็งแรง และสามารถที่จะแสดงฝีมือใชงกีฬาเพื่อความสามัคคี และเพื่อที่จะให้คุณภาพของมนุษย์ดีขึ้นมาเวลานี้ การกีฬาก็นับว่ามีความสำคญทางอื่นด้วย คือ ในทางสังคม ทำให้คนในประเทศชาติได้หันมาปฏิบัติสิ่งที่เป็นประโยชน์ในทางสุขภาพของร่างกายและของจิตใจ ทำให้สามารถที่จะอยู่เป็นสังคมอย่างอยู่เย็นเป็นสุข ทั้งเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความเจริญของบ้านเมือง และโดยเฉพาะในการกีฬาระหว่างประเทศก็ได้เพิ่มความสำคัญกับมนุษย์อื่น ซึ่งอยู่ในประเทศอื่น ฉะนั้น กีฬามีความสำคัญอย่างยิงสำหรับชีวิตของแต่ละคน และชีวิตของบ้านเมือง ถ้าปฏิบัติกีฬาอย่างถูกต้อง หมายถึงว่า ปฎิบัติกีฬาด้วยความเรียบร้อย ด้วยความสุภาพ ก็ทำให้มีชื่อเสียงเหมือนกัน และจะส่งเสริมความสามัคคีในประเทศชาติ"


                พระราชดำรัสที่พระราชทานขณะทรงพระประชวร ปี 2525
                "การออกกำลังกายนั้น ถ้าทำน้อยไปร่างกายจิตใจก็จะเฉา ถ้าทำมากร่างกายจืตใจก็จะซ้ำ"


                 นอกจากนั้นพระบาทสมด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่งอยู่เสมอว่า "นักกีฬาที่ดีจะตอ้งมีความอดทน มีวินัย มีแผนการณ์ต่าง ๆ และต้องปรับปรุงตัวเองใหสม่ำเสมอ


                 พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทางการกีฬานี้ เป็นที่เลื่องลือไปทั่วโลกว่าทรงเป็นนักฬาอย่างแท้จริงและทรงสนับสนุนกีฬาเป็นอย่างมาก จนเป็นที่ปรากฎชัดและในการประชุมใหญ่คณะกรรมการโอลิมปิคสากลครั้งที่ 92 ที่เมืองอีสตันบูล ประเทศตุรกี นายฮวน อัน โตนิโอ ซามารานซ์ มีสมาชิกเข้าร่วมประชุม 87 ประเทศ ได้มติเป็นเอกฉันท์ ให้ทูลเกล้าถวายเหรียญดุษฎีกิตติมศักดิ์ของคณะกรรมการโอลิมปิคสากล คือ อิสริยาภรณ์โอลิมปิคชั้นสูงสุด"  ( ทอง ) แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู๋หัว เมือ่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2530  นับเป็พระมหากษัตริย์องค์แรกของโลก ที่ไก้รับการทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญโอลิมปิคชั้นสูงสุด สมควรที่นักกีฬาทุกคนจะได้เจริญรอยตามเบื้องยุคลบาทอันจะมีให้มีผล
ให้เกิดโอกาสทำให้เกิดชื่อเสียง แก่ประเทศชาติ

                      พระปรีชาสามารถและพระราชกรณียกิจพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลเดชมหาราช พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นองค์พระประมุขของประเทศไทย และทรงเป็นนักกีฬที่ยิ่งใหญ่นี้ เป็นสิ่งที่คนไทยทั้งประเทศภาคภูมิใจมากและน้อมรำลึกถึงเสมอว่า พระองค์ท่าน..คือกษัตริย์นักกีฬามิ่งขวัญและดวงใจของวงการกีฬาไทย...

วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2554

ทฤษฎีความเชื่อมั่นในตนเองทางการกีฬาของนักกีฬาทีมชาติไทย

สร้างทฤษฎีจากข้อมูล (THE THEORY OF SELF-CONFIFENCE IN SPORT FOR THAI NATIONAL ATHLETER : GROUNDED THEORY APPROACH)
ชื่อผู้วิจัย วิมลมาศ ประชากุล

ปี พ.ศ. 2551

คำถามการวิจัย
1. นักกีฬาทีมชาติไทยให้ความหมายของความเชื่อมั่นในตนเองอย่างไร
2. นักกีฬาทีมชาติไทยมีกระบวนการสร้างความเชื่อมั่นในตนเองอย่างไร
3. ทฤษฎีความเชื่อมั่นในตนเองทางการกีฬาของนักกีฬาทีมชาติไทยเป็นอย่างไร

วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาการให้ความหมายของความเชื่อมั่นในตนเองของนักกีฬาทีมชาติไทย
2. เพื่อศึกษากระบวนการสร้างความเชื่อมั่นในตนเองของนักกีฬาทีมชาติไทย
3. เพื่อสร้างทฤษฎีความเชื่อมั่นในตนเองทางการกีฬาจากข้อมูลของนักกีฬาทีมชาติไทย

ขอบเขตงานวิจัย
การศึกษาครั้งนี้เป็นการสร้างทฤษฎีความเชื่อมั่นในตนเองทางการกีฬาของนักกีฬาทีมชาติไทย ที่มีการฝึกซ้อมและแข่งขันอย่างต่อเนื่องมากกว่า 5 ปี เพื่อสะท้อนพลวัต (Dynamic) และองค์รวม (Holistic) ของความเชื่อมั่นในตนเองของนักกีฬาทั้งในขณะการฝึกซ้อมและการแข่งขัน โดยมุ่งเน้นปัจจัยแหล่งข้อมูลข่าวสาร กระบวนการทางความคิดของนักกีฬาพฤติกรรมที่แสดงออกของนักีฬา เพื่อหาข้อสรุปสร้างเป็นทฤษฎีจากข้อมูลจริงของนักกีฬาทีมชาติไทย การวิจัยครั้งนี้ศึกษาในนักกีฬาทีมชาติไทย ที่มีการฝึกซ้อมและการแข่งขันอย่างต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 5 ปี

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ปัจจัยที่มีผลต่อความมั่นใจเฉพาะอย่าง ปัจจัยในการสร้างความเชื่อมั่นเฉพาะอย่างแบนดูร่า มี 4 ปัจจัย (Bandura, 1977, p.80, 1986, pp. 399-401) ได้แก่ (1) ความสำเร็จจากการกระทำ (2) การได้เห็นผู้อื่นประสบความสำเร็จ (3) การชักจูงด้วยคำพูด (4) ระดับสรีระวิทยา แต่หลังจากที่ได้มีนักวิชาการนำทฤษฎีไปวิจัยอย่างกว้างขวาง ซึ่งได้เพิ่มปัจจัยในการสร้างความเชื่อมั่น อีก 2 ปัจจัย (Feltz&lirgg,2001,p.341) ได้แก่ (1) ระดับอารมณ์ และ (2) ความสามารถในการจินตภาพ





วิธีดำเนินการวิจัย
งานวิจัยเรื่องนี้ได้แบ่งแนวทางการทำวิจัยเพื่อสร้างทฤษฎีในการวิจัย การสร้างทฤษฎีแบ่งการวิเคราะห์เป็น 5 ช่วง (Phase) คือ
1. การออกแบบงานวิจัย
2. การรวบรวมงานวิจัย
3. การจัดลำดับข้อมูล
4. การวิเคราะห์ข้อมูล
5. การเปรียบเทียบ
- ในแต่ละช่วงได้แบ่งออกเป็น 9 ขั้นตอน หรือวิธีการ
- ในแต่ละขั้นตอนหรือวิธีการเป็นการประเมินคุณภาพวิจัยอยู่ 4 หลักเกณฑ์ ได้แก่
1. ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง (Construct Validity)
2. ความเที่ยงตรงภายใน (Internal Validity)
3. ความเที่ยงตรงภายนอก (Externat Validity)
4. ความเชื่อมั่น (Reliability)

ช่วงการออกแบบวิจัย

ขั้นที่ 1 ทบทวนวรรณกรรม
กิจกรรม (Activities)
- กำหนดคำถามการวิจัย
- กำหนดกรอบแนวคิดพื้นฐาน
เหตุผล (Rationale)
- มุ่งที่ประเด็น
- ตัดข้อมูลที่ไม่ตรงประเด็นและปรับปรุงความเที่ยงตรงภายนอก

ขั้นที่ 2 เลือกกลุ่มตัวอย่าง
กิจกรรม (Activities)
ใช้วิธีการเลือกเชิงทฤษฎี ,ไม่ใช้การสุ่ม
เหตุผล (Rationale)
- มุ่งประเด็นที่กรณีที่มีสอดคล้องกับทฤษฎีเพื่อตรวจสอบและขยายทฤษฎี

ช่วงการเก็บข้อมูล

ขั้นที่ 3 พัฒนาข้อมูล
กิจกรรม (Activities)
- สร้างข้อมูลจากกรณีศึกษาก่อน
- ใช้วิธีการเก็บข้อมูล หลาย ๆ วิธี
- ใช้วิธีการวิจัยทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ
เหตุผล (Rationale)
- เพิ่มความเชื่อถือได้
- เพิ่มความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง
- เพิ่มความเข้มแข็งของทฤษฎีโดยการใช้หลักการ 3 เส้า (Triangulation) เพื่อเพิ่มความเที่ยงตรงภายใน
- ตรวจสอบหลักฐานตรงกัน

ขั้นที่ 4 เข้าสู่สนามจริง
กิจกรรม (Activities)
- รวบรวมข้อมูลที่ตรงกันและวิเคราะห์
- มีความยืดหยุ่นและสร้างโอกาสในการเก็บข้อมูล
เหตุผล (Rationale)
- วิเคราะห์ด้วยความรวดเร็วและใช้วิธีการต่าง ๆ ที่จะช่วยให้ทำงานได้สะดวกขึ้น
- เปิดโอกาสให้ผู้วิจัยมีโอกาสสร้างหัวข้อและสร้างจุดเด่นเฉพาะช่วงการจัดลำดับข้อมูล


ขั้นที่ 5 การจัดลำดับข้อมูล
กิจกรรม (Activities) ลำดับเหตุการณ์ตามที่เกิด
เหตุผล (Rationale)
- เพื่อให้การวิเคราะห์ข้อมูลง่ายขึ้นและตรวจสอบได้ในแต่ละขั้นตอน

ช่วงการวิเคราะห์ข้อมูล

ชั้นที่ 6 วิเคราะห์ข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มตัวอย่างแรก
กิจกรรม (Activities)
- การให้รหัส (Open Coding)
- ใช้รหัสเชื่อมโยง (Axial Coding)
- ใช้รหัสเลือก (Selective Coding)
เหตุผล (Rationale)
- พัฒนามโนทัศน์หมวดหมู่และลักษณะที่ไม่สำคัญ
- พัฒนาความสำคัญระหว่างหมวดหมู่และในส่วนย่อยแต่ละหมวดหมู่
- บูรณาการหมวดหมู่เพื่อสร้างกรอบทฤษฎี
- รูปแบบของรหัสต่าง ๆ จะเพิ่มความเที่ยงตรงภายใน

ชั้นที่ 7 เลือกกลุ่มตัวอย่างตามทฤษฎี
กิจกรรม (Activities)
เลือกกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะตรงข้ามกับทฤษฎี(กลับไปที่ขั้นที่ 2 จนกว่าทฤษฎีจะอิ่มตัว
เหตุผล (Rationale)
- ตรวจสอบ, ขยายความและปรับปรุงกรอบของทฤษฎี

ชั้นที่ 8 ยุติการค้นหา
กิจกรรม (Activities)
- ยุติการทดสอบเมื่อทฤษฎีมีโอกาสอิ่มตัว
เหตุผล (Rationale)
- จบกระบวนการเมื่อมีข้อมูลที่แตกต่างน้อยลง

ช่วงเปรียบเทียบกับแนวคิดและหลักการอื่น ๆ

ขั้นที่ 9 เปรียบเทียบทฤษฎีที่สร้างขึ้นมากับแนวคิดและหลักการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
กิจกรรม (Activities)
- เปรียบเทียบกับข้อขัดแย้งตามกรอบแนวคิดพื้นฐาน
-เ ปรียบเทียบกับความสอดคล้องตามกรอบแนวคิดพื้นฐาน
เหตุผล (Rationale)
- พัฒนาโครงสร้างคำนิยามและความเที่ยงตรงภายใน
- พัฒนาความเที่ยงตรงภายนอกโดยการเริ่ม นำข้อค้นพบที่ได้จากการศึกษาว่าขยายการนำไปใช้ได้

สรุปกระบวนการสร้างทฤษฎีจากข้อมูล (The Process of Building Grounded Theory) (Pandit, 1996)

การเลือกนักกีฬาผู้ให้ข้อมูลหลัก
ผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informant) ของการวิจัยครั้งนี้ คือ นักกีฬาที่มีคุณลักษณะตามที่กำหนดไว้เบื้องต้น ซึ่งการเลือกกลุ่มตัวอย่างนี้ได้ใช้วิธีการเลือกเชิงทฤษฎี (Theoretical Sampling) ซึ่งมีกระบวนการดังนี้ ในการเลือกกลุ่มตัวอย่างคนแรกเพื่อเก็บข้อมูล นั้นผู้วิจัยได้เลือกตามที่กำหนดไว้เบื้องต้น เมื่อสัมภาษณ์ได้แล้ว ผู้วิจัยจะทำการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างละเอียด และกำหนดเป็นมโนทัศน์ (Concept) แล้วนำมาเชื่อมโยงมโนทัศน์ต่าง ๆ ที่ค้นพบเข้าด้วยกัน เพื่อทำเป็นข้อสรุปต่อจากนั้นจึงใช้ข้อสรุปนี้ไปกำหนดผู้ให้ข้อมูลหลักคนต่อไป ๆ ไป ซึ่งเลือกผู้ที่มีคุณลักษณะคล้ายกันเพื่อยืนยันกับข้อสรุปที่ได้และผู้ที่มีคุณลักษณะต่างจากผู้ให้ข้อมูลคนแรก (Negative Case) ทั้งนี้เพื่อตรวจสอบข้อสรุปที่ได้ การกำหนดความแตกต่างระหว่างความคล้ายกันและลักษณะต่างกันของกลุ่มตัวอย่าง คือ ประเภทของกีฬา อันได้แก่กีฬาประเภททีม – บุคคล และปะทะ –ไม่ปะทะ การเก็บข้อมูลดำเนินไปจนผู้วิจัยแน่ใจว่าถึงแม้มีการเก็บข้อมูลเพิ่มก็ไม่อาจปรับเปลี่ยน (Modify) แก้ไขหรือเพิ่มเติม (Vertify) ข้อสรุปเดิมที่มีอยู่ได้ซึ่งถือได้ว่าเป็นการอิ่มตัวทางข้อมูล (Data Saturation) และทฤษฎีที่ได้สามารถให้ความเข้าใจรายละเอียด ความหมายของความเชื่อมั่นในตนเอง กระบวนการสร้างความเชื่อมั่นในตนเองได้หลายมิติ หลายมุมมอง และหลายระดับ ซึ่งถือว่าเป็นการอิ่มตัวทางทฤษฎี (Theoretical Saturation) ผู้วิจัยจึงยุติการเลือกกลุ่มตัวอย่าง

วิธีการเก็บข้อมูล
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ผู้วิจัยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (Indepth interview) เนื่องจากการสัมภาษณ์มีการยืดหยุ่นสูง ผู้สัมภาษณ์มีโอกาสอธิบายขยายความให้ผู้ตอบเข้าใจวัตถุประสงค์ของคำถาม สามารถซักถามเพิ่มเติมและให้ข้อมูลนายละเอียดของประเด็นต่าง ๆ อันเป็นการใช้กลยุทธ์ต่าง ๆ ต่อรองจนกว่าจะได้ข้อมูลที่ผู้วิจัยต้องการ พร้อมทั้งสามารถตรวจสอบความเข้าใจตรงกันระหว่างผู้ให้สัมภาษณ์กับผู้สัมภาษณ์ สามารถลำดับเหตุการณ์ที่ประสบและถ่ายทอดได้ในทัศนะของตนเอง อีกทั้งผู้สัมภาษณ์สามารถสังเกตพฤติกรรมต่าง ๆ ของผู้ตอบขณะให้สัมภาษณ์ได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังใช้วิธีการศึกษาจากการสังเกตอย่างไม่มีส่วนร่วม (Non-Participation Observation) ในขณะฝึกซ้อมและแข่งขัน เพื่อหาความสอดคล้อง และสนับสนุนข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์
ผู้วิจัยได้พัฒนาแนวคำถามมาจากวัตถุประสงค์และปัญหาการวิจัยกรอบความคิดพื้นฐานในการวิจัยแนวคำถามมีลักษณะเป็นคำถามปลายเปิด (Semi-Structure Open-Ended) ในการสัมภาษณ์ผู้วิจัยจะระมัดระวังไม่ให้เกิดการชี้นำการเสนอความเห็นส่วนตัว การร่วมแสดงความรู้สึก และแสดงอารมณ์กับผู้ถูกสัมภาษณ์ ทั้งนี้ในขณะสัมภาษณ์ทำการบันทึกเสียงหลังจากที่ได้รับอนุญาตจากผู้ให้สัมภาษณ์แล้ว เพื่อความสมบูรณ์ของข้อมูลและเพื่อใช้ในการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์นำมาถอดคำต่อคำพร้อมกับรายละเอียดที่บันทึกไว้ขณะสัมภาษณ์ ส่วนการสังเกตผู้วิจัยได้สังเกตลักษณะพฤติกรรมที่นักกีฬาแสดงออกในขณะซ้อมและแข่งขันที่มีแนวโน้มนำไปสู่กระบวนการสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง การสังเกตจะประกอบด้วยการสังเกตกายภาพภายนอก การแสดงออก ตำแหน่ง ท่าที ทางกาย และการบริหารเวลา รวมทั้งภาพรวมของบรรยากาศของการ ฝึกซ้อมและการแข่งขันที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างความเชื่อมั่นในตนเองของนักกีฬา

ผลการวิจัย
1. นักกีฬาทีมชาติไทยให้ความหมายความเชื่อมั่นในตนเองทางการกีฬาว่าเป็นการรับรู้ว่าตนเองมีความสามารถมีความพร้อมทั้งทางร่างกายและจิตใจ มีทักษะที่จะแสดงความสามารถนั้น ๆ ได้ และเชื่อว่าผลของการแสดงความสามารถนั้นจะประสบความสำเร็จ
2. นักกีฬาทีมชาติไทยมีกระบวนการสร้างความเชื่อมั่นในตนเองโดยการใช้ข้อมูลจากแหล่งที่เพิ่มและลดความเชื่อมั่นในตนเอง ผ่านการรับรู้และประเมินการรับรู้ โดยแบ่งออกเป็น 3 องค์ประกอบได้แก่การรับรู้ตนเองมีความสามารถ รับรู้ความพร้อม และรับรู้สภาพแวดล้อม จากนั้นนักกีฬาจะนำผลของการรับรู้จาก3 องค์ประกอบมาผ่านกระบวนการทางความคิด ซึ่งจะส่งผลให้นักกีฬามีความเชื่อมั่นในตนเองสูงขึ้น สูง หรือ ลดลง
3. ทฤษฎีความเชื่อมั่นในตนเองทางการกีฬาของนักกีฬาทีมชาติไทยมาจาก 3 องค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กัน ได้แก่ การรับรู้ว่าตนเองมีความสามารถ (จากแหล่งข้อมูล ภายในและภายนอก) มีความพร้อม (ร่ายกายและจิตใจ) และสภาพแวดล้อม (บุคคลและกายภาพ) เอื้ออำนวยจะทำให้มีความเชื่อมั่นในตนเองทางการกีฬาสูงขึ้น เมื่อนักกีฬารับรู้ว่าตนเองมีความสามารถจากแหล่งข้อมูลภายในและภายนอก มีความพร้อมทางจิตใจและร่างกาย หรือนักกีฬารับรู้ว่าตนเองมีความสามารถจากแหล่งข้อมูลภายใน มีความพร้อมจากร่างกายหรือจิตใจและสภาพแวดล้อมด้านบุคคลเอื้ออำนวยนักกีฬาจะมีความเชื่อมั่นในตนเองทางการกีฬาสูง และเมื่อนักกีฬาขาดความพร้อมทางจิตใจ และสภาพแวดล้อมด้านบุคคลไม่เอื้ออำนวยจะทำให้นักกีฬามีความเชื่อมั่นในตนเองทางการกีฬาลดลง

วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

น้ำใจนักกีฬา

 



                  ....เจ้าพระย่าธรรมศักดิ์มนตรี..ปราชญ์..ในทางการพลศึกษาและกีฬา....
           เจ้าพระย่าธรรมศักดิ์มนตรีหรือครูเทพ..นอกจากท่านจะเป็นปราชญ์และปรมาจารย์ทางการศึกษาของไทยคนหนึ่งแล้ว  ท่านยังเป็นปราชญ์ทางการพลศึกษาและกีฬาของไทยคนหนึ่งอีกด้วยเช่นกัน และยิ่งกว่านั้นท่านยังเป็นครูพลศึกษาและกีฬาคนแรกของไทยอีกด้วย ใน..ใ
              ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างพอสังเขปดังนี้......ครับ.
  • เขียนตำราการสอนพลศึกษา สมัยนั้นเรียกว่า วิชา " การดัดตน"หรือวิชา"การฝึกร่างกายต่าง ๆ
  • เขียนเรื่องที่เกี่ยวกับคุณค่าและประโยชน์ของการพลศึกษา การกีฬาและการออกกำลังกายไว้    มากมาย เช่น ท่านได้เขียนถึงคุณค่าและประโยชน์ของการเล่นกีฬาว่า..การเล่นกีฬาจะทำให้เป็นผู้มีน้ำใจนักกีฬา และท่านได้กล่าวถึงความสำคัญของน้ำใจนักกีฬาว่า...โลกบูชาน้ำใจนักกีฬา  แต่โลกดูถูกน้ำใจที่ไม่ใช่นักกีฬาใครเล่นกีฬาอย่างนักกีฬา เขาทำงานอย่างนักกีฬาด้วย...
           นอกจากนั้นท่านยังได้ใช้ความเป็นอัจฉริยะในความเป็นปราชญ์ทางการพลศึกษาและการกีฬาของท่านสรุปคุณค่าและประโยชน์ของการพลศึกษาของท่าน  สรุปคุณค่าและประโยชน์ของการการพลศึกษาและการกีฬา แล้วประพันธ์เป็นเนื้อร้อง..เพลงกราวกีฬา..  ทั้งนี้เพื่อที่ครูพลศึกษา ผู้เล่นกีฬา ผู้ดูกีฬาหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพลศึกษาและการกีฬาทุกคนจะได้นำไปเป็นแนวทางในการทำงานต่อไป
ดังเนื้อเพงดังต่อไปนี้...


                                                                      เพลงกราวกีฬา
      พวกเรานักกีฬาใจกล้าหาญ  เชี่ยวชาญชิงชัยไม่ย่นย่อ คราวชนะรุกใหญ่ไม่รีรอ                   คราวแพ้ก็ไม่ท้อกัดฟันทน
       ( สร้อย) ฮืม ฮึม ฮึม ฮึม  กีฬากีฬาเป็นยาวิเศษ ฮ้าไฮ้ ฮ้าไฮ้ กีฬากีฬาเป็นยาวิเศษ แก้กองกิเส ทำคนให้เป็คน ผลของการฝึกตน เล่นกีฬาสากลตาละล้า
ร่างกายกำยำล้ำเลิศ                 กล้ามเนื้อก็เกิดทุกแห่งหน
แข็งแรงทรหดอดทน                ว่องไวไม่ย่นระย่อใคร(สร้อย)
ใจคอมั่นคงทรงศักดิ์                 รู้จักทีหนีทีไล่
 รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย                   ไว้ใจได้ทั่วทั้งรักชัง (สร้อย) 
ไม่ชอบเอาเปรียบเฉียบแข่งขัน    สู้กันซึ่งหน้าไม่ลับหลัง
มัวส่วนตัวเบื่อเหลือกำลัง        เกลียดชังการเล่นเห็นแก่ตัว(สร้อย)
เล่นรวมกำลังทั้งพวก               เอาชัยสะดวกมิใช่ชั่ว 
ไม่ว่างานหรือเล่นเป็นไม่กลัว      ร่วมมือกันทั่วก็ไชโย (สร้อย)
                                                         **********************
   

วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

มารยาทของผู้เล่นที่ดี

  • มารยาทของผู้เล่นที่ดี    ควรมีลักษณะดังนี้
1. ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับและกติกาการแข่งขันอย่างเคร่งครัดอยู่เสมอ
2. ควรแสดงน้ำใจที่เป็นมิตรและให้เกียรติแก่ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายเป็นอย่างดี  เช่น การจับมือทักทายปราศรัยซึ่งกันและกัน ทั้งก่อนและหลังเล่น
3. เคารพและเชื่อฟังกรรมการผู้ตัดสินและกรรมการเจ้าหน้าที่อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
4. เคารพและเชื่อฟังทั้งหัวหน้าทีม  และครู อาจารย์ผู้ควบคุมอยู่เสมอ
5. มีความสุภาพเรียบร้อยไม่แสดงกิริยาอาการเย่อหยิ่ง  จองหอง  โอ้อวดต่อผู้อื่น
6. รู้จักควบคุมอารมณ์และสติได้ดี  ไม่แสดงกิริยาอาการโมโหฉุนเฉียว
7. ควรเล่นด้วยชั้นเชิงที่เหมาะสมกับการเล่น  ไม่ควรกลั่นแกล้งหรือเอาเปรียบผู้อื่นในทางที่ไม่ถูกต้อง  ถ้าเกิดการผิดพลาด ต้องกล่าวคำขอโทษ และให้อภัยซึ่งกันและกัน
8. เมื่อชนะไม่ควรแสดงความดีใจจนเกินไป และเมื่อแพ้ก็ไม่ควรเสียใจจนออกนอกหน้า  ต้องมีใจคอหนักแน่น  และอดทน
9. แต่งกายด้วยชุดกีฬาที่ถูกต้องเหมาะสมและปลอดภัย
      10.รู้จักแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในการเล่นได้ดี ถูกต้อง  เหมาะสม
      11.รู้จักประมาณกำลัง  และความสามารถของตนเอง
      12.จะต้องเรียนรู้ระเบียบข้อบังคับ  และกฎกติกาการเล่นอย่างดี
      13.ควรฝึกทักษะพื้นฐานให้มีความชำนาญเป็พิเศษ  เพื่อช่วยในการเล่นมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น


มารยาทของผู้ดูที่ดี   มีดังนี้
         1. ให้เกียรติแก่ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายด้วยการปรบมือก่อนและหลังการแข่งขัน
        2.ให้เกียรติผู้ตัดสิน  และกรรมการเจ้าหน้าที่อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
        3.ชมเชยผู้เล่นทั้งสองฝ่ายที่เล่นได้ดีด้วยการปรบมือ
        4.ให้เกียรติและยกย่องผู้เล่นทั้งสองฝ่าย  ทำใจให้เป็นกลาง ไม่เชียร์ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยเฉพาะ
        5.เคารพในคำตัดสินของกรรมการผู้ตัดสิน  ไม่ก้าวร้าว หรือด่าทอ
        6.ไม่ก่อเรื่องทะเลาะวิวาทแก่ฝ่ายคู่ต่อสู้  หรือกรรมการเจ้าหน้าที่ใดๆ
        7.มีความเห็นอกเห็นใจแก่ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายไม่แสดงกริยาวาจาไม่สุภาพเมื่อผู้เล่นเล่นผิดพลาด
        8.มีน้ำใจเป็นนักกีฬา  รู้แพ้  รู้ชนะ  และรู้จักการให้อภัยซึ่งกันและกัน 
        9.มีความเลื่อมใสและศรัทธาในอุดมการณ์ของการเล่นกีฬาอย่างแท้จริง
 

ผลพลอยได้จากการเล่นกีฬาตะกร้อ

ผลพลอยได้จากการเล่นกีฬาตะกร้อ

                    กีฬาทุกชนิดถ้าผู้เล่นนำไปใช้ให้ถูกต้องแล้ว  ย่อมกลายเป็นเครื่องมือที่จะก่อให้เกิดสังคมมิตรภาพ  ความสามัคคีกลมเกลียว  ปลูกฝังความมีน้ำใจนักกีฬาถ้าหากมีทักษะ   หรือความสามารถสูงย่อมมีโอกาสเป็นตัวแทนของสถาบันการศึกษา    สโมสร   เขต  และตัวแทนของประเทศชาติ      ซึ่งจะเป็นการประกาศเกียรติคุณและได้รับผลประโยชน์จากการเล่นตะกร้อ  ไม่ว่าจะเป็นตะกร้อชนิดใดก็ตามดังนี้
                    1.  เล่นได้ง่ายและเล่นได้โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่
                    2.  อุปกรณ์การเล่นราคาถูก  ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย
                    3.  ส่งเสริมสมรรถภาพทางกาย  ทำให้ว่องไวปราดเปรียว
                    4.  ส่งเสริมสมรรถภพทางจิตใจให้รู้จักตัดสินใจ รู้จักควบคุมอารมณ์ และมีปฏิภาณ
                      ไหวพริบดี 
                    5.  ส่งเสริมให้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี  มีวงสังคมกว้างขวาง
                    6.  มีความปลอดภัยมากกว่าการเล่นกีฬาประเภทอื่น
                    7.  ได้ชื่อว่าช่วยรักษาอนุรักษ์กีฬาประจำชาติไทย

ประโยชน์ของการเล่นกีฬาตะกร้อ

                
  ตะกร้อเป็นกีฬาที่นิยมเล่นกันโดยทั่วไป   ไม่จำกัดเวลาหรือสถานที่      เล่นได้ทั้งในร่มและกลางแจ้ง อุปกรณ์หาง่าย  ราคาถูก  เล่นได้ทุกวัย  ฝึกง่าย   เป็นกีฬาที่ไม่หนักหรือเบาจนเกินไป    ถ้าเล่นอยู่เป็นประจำจะก่อให้เกิดประโยชน์ดังนี้
                    1.  ประโยชน์ทางด้านร่างกาย
                         1.1.  ทำให้ระบบการไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น
                         1.2.  ทำให้เซลล์และกล้ามเนื้อเจริญเติบโตแข็งแรงและมีประสิทธิภาพ
                         1.3.  ทำให้อวัยวะต่างๆ  ทำงานสัมพันธ์กันดีขึ้น
                         1.4.  ช่วยระบบการขับถ่ายและรักษาอุณหภูมิของร่างกาย
                         1.5.  ช่วยส่งเสริมบุคลิกภาพให้ดีขึ้น
                    2.  ประโยชน์ทางด้านอารมณ์
                         2.1.  ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด  ทำให้อารมณ์แจ่มใส
                         2.2.  ช่วยฝึกการควบคุมอารมณ์  ทำให้อารมณ์มั่นคง
                    3.  ประโยชน์ทางด้านสังคม       
                         3.1.  ช่วยเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีเพื่อนมาก
                         3.2.  ฝึกฝนให้รู้จักการเสียสละ
                         3.3.  รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
                    4.  ประโยชน์ทางด้านจิตใจ
                         4.1.  ทำให้เกิดความภูมิใจและมั่นใจในความสามารถของตน
                         4.2.  ส่งเสริมให้รู้จักการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและมีปฏิภาณไหวพริบดี
                         4.3.  ปลูกฝังความมีน้ำใจเป็นนักกีฬา  ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น
                         4.4.  เป็นกิจกรรมนันทนาการที่ก่อให้เกิดประโยชน์ในทางที่ถูกที่ควร
                    5.  ประโยชน์ทางด้านเจตคติ
                         5.1.  ส่งเสริมให้รู้จักเคารพในสิทธิของผู้อื่น
                         5.2.  ส่งเสริมให้รู้จักเคารพกฎกติกาการแข่งขัน และรักษาความยุติธรรม
                         5.3.  สามารถนำทักษะจากการฝึกซ้อมไปใช้ประโยชน์ทางนันทนาการได้
                         5.4.  แนวโน้มที่จะเป็นภัยหรือปัญหาสังคมน้อยลง เพราะมีโอกาสได้แสดงออก
  ทางกีฬา