วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

มารยาทของผู้เล่นที่ดี

  • มารยาทของผู้เล่นที่ดี    ควรมีลักษณะดังนี้
1. ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับและกติกาการแข่งขันอย่างเคร่งครัดอยู่เสมอ
2. ควรแสดงน้ำใจที่เป็นมิตรและให้เกียรติแก่ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายเป็นอย่างดี  เช่น การจับมือทักทายปราศรัยซึ่งกันและกัน ทั้งก่อนและหลังเล่น
3. เคารพและเชื่อฟังกรรมการผู้ตัดสินและกรรมการเจ้าหน้าที่อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
4. เคารพและเชื่อฟังทั้งหัวหน้าทีม  และครู อาจารย์ผู้ควบคุมอยู่เสมอ
5. มีความสุภาพเรียบร้อยไม่แสดงกิริยาอาการเย่อหยิ่ง  จองหอง  โอ้อวดต่อผู้อื่น
6. รู้จักควบคุมอารมณ์และสติได้ดี  ไม่แสดงกิริยาอาการโมโหฉุนเฉียว
7. ควรเล่นด้วยชั้นเชิงที่เหมาะสมกับการเล่น  ไม่ควรกลั่นแกล้งหรือเอาเปรียบผู้อื่นในทางที่ไม่ถูกต้อง  ถ้าเกิดการผิดพลาด ต้องกล่าวคำขอโทษ และให้อภัยซึ่งกันและกัน
8. เมื่อชนะไม่ควรแสดงความดีใจจนเกินไป และเมื่อแพ้ก็ไม่ควรเสียใจจนออกนอกหน้า  ต้องมีใจคอหนักแน่น  และอดทน
9. แต่งกายด้วยชุดกีฬาที่ถูกต้องเหมาะสมและปลอดภัย
      10.รู้จักแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในการเล่นได้ดี ถูกต้อง  เหมาะสม
      11.รู้จักประมาณกำลัง  และความสามารถของตนเอง
      12.จะต้องเรียนรู้ระเบียบข้อบังคับ  และกฎกติกาการเล่นอย่างดี
      13.ควรฝึกทักษะพื้นฐานให้มีความชำนาญเป็พิเศษ  เพื่อช่วยในการเล่นมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น


มารยาทของผู้ดูที่ดี   มีดังนี้
         1. ให้เกียรติแก่ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายด้วยการปรบมือก่อนและหลังการแข่งขัน
        2.ให้เกียรติผู้ตัดสิน  และกรรมการเจ้าหน้าที่อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
        3.ชมเชยผู้เล่นทั้งสองฝ่ายที่เล่นได้ดีด้วยการปรบมือ
        4.ให้เกียรติและยกย่องผู้เล่นทั้งสองฝ่าย  ทำใจให้เป็นกลาง ไม่เชียร์ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยเฉพาะ
        5.เคารพในคำตัดสินของกรรมการผู้ตัดสิน  ไม่ก้าวร้าว หรือด่าทอ
        6.ไม่ก่อเรื่องทะเลาะวิวาทแก่ฝ่ายคู่ต่อสู้  หรือกรรมการเจ้าหน้าที่ใดๆ
        7.มีความเห็นอกเห็นใจแก่ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายไม่แสดงกริยาวาจาไม่สุภาพเมื่อผู้เล่นเล่นผิดพลาด
        8.มีน้ำใจเป็นนักกีฬา  รู้แพ้  รู้ชนะ  และรู้จักการให้อภัยซึ่งกันและกัน 
        9.มีความเลื่อมใสและศรัทธาในอุดมการณ์ของการเล่นกีฬาอย่างแท้จริง
 

ผลพลอยได้จากการเล่นกีฬาตะกร้อ

ผลพลอยได้จากการเล่นกีฬาตะกร้อ

                    กีฬาทุกชนิดถ้าผู้เล่นนำไปใช้ให้ถูกต้องแล้ว  ย่อมกลายเป็นเครื่องมือที่จะก่อให้เกิดสังคมมิตรภาพ  ความสามัคคีกลมเกลียว  ปลูกฝังความมีน้ำใจนักกีฬาถ้าหากมีทักษะ   หรือความสามารถสูงย่อมมีโอกาสเป็นตัวแทนของสถาบันการศึกษา    สโมสร   เขต  และตัวแทนของประเทศชาติ      ซึ่งจะเป็นการประกาศเกียรติคุณและได้รับผลประโยชน์จากการเล่นตะกร้อ  ไม่ว่าจะเป็นตะกร้อชนิดใดก็ตามดังนี้
                    1.  เล่นได้ง่ายและเล่นได้โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่
                    2.  อุปกรณ์การเล่นราคาถูก  ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย
                    3.  ส่งเสริมสมรรถภาพทางกาย  ทำให้ว่องไวปราดเปรียว
                    4.  ส่งเสริมสมรรถภพทางจิตใจให้รู้จักตัดสินใจ รู้จักควบคุมอารมณ์ และมีปฏิภาณ
                      ไหวพริบดี 
                    5.  ส่งเสริมให้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี  มีวงสังคมกว้างขวาง
                    6.  มีความปลอดภัยมากกว่าการเล่นกีฬาประเภทอื่น
                    7.  ได้ชื่อว่าช่วยรักษาอนุรักษ์กีฬาประจำชาติไทย

ประโยชน์ของการเล่นกีฬาตะกร้อ

                
  ตะกร้อเป็นกีฬาที่นิยมเล่นกันโดยทั่วไป   ไม่จำกัดเวลาหรือสถานที่      เล่นได้ทั้งในร่มและกลางแจ้ง อุปกรณ์หาง่าย  ราคาถูก  เล่นได้ทุกวัย  ฝึกง่าย   เป็นกีฬาที่ไม่หนักหรือเบาจนเกินไป    ถ้าเล่นอยู่เป็นประจำจะก่อให้เกิดประโยชน์ดังนี้
                    1.  ประโยชน์ทางด้านร่างกาย
                         1.1.  ทำให้ระบบการไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น
                         1.2.  ทำให้เซลล์และกล้ามเนื้อเจริญเติบโตแข็งแรงและมีประสิทธิภาพ
                         1.3.  ทำให้อวัยวะต่างๆ  ทำงานสัมพันธ์กันดีขึ้น
                         1.4.  ช่วยระบบการขับถ่ายและรักษาอุณหภูมิของร่างกาย
                         1.5.  ช่วยส่งเสริมบุคลิกภาพให้ดีขึ้น
                    2.  ประโยชน์ทางด้านอารมณ์
                         2.1.  ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด  ทำให้อารมณ์แจ่มใส
                         2.2.  ช่วยฝึกการควบคุมอารมณ์  ทำให้อารมณ์มั่นคง
                    3.  ประโยชน์ทางด้านสังคม       
                         3.1.  ช่วยเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีเพื่อนมาก
                         3.2.  ฝึกฝนให้รู้จักการเสียสละ
                         3.3.  รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
                    4.  ประโยชน์ทางด้านจิตใจ
                         4.1.  ทำให้เกิดความภูมิใจและมั่นใจในความสามารถของตน
                         4.2.  ส่งเสริมให้รู้จักการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและมีปฏิภาณไหวพริบดี
                         4.3.  ปลูกฝังความมีน้ำใจเป็นนักกีฬา  ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น
                         4.4.  เป็นกิจกรรมนันทนาการที่ก่อให้เกิดประโยชน์ในทางที่ถูกที่ควร
                    5.  ประโยชน์ทางด้านเจตคติ
                         5.1.  ส่งเสริมให้รู้จักเคารพในสิทธิของผู้อื่น
                         5.2.  ส่งเสริมให้รู้จักเคารพกฎกติกาการแข่งขัน และรักษาความยุติธรรม
                         5.3.  สามารถนำทักษะจากการฝึกซ้อมไปใช้ประโยชน์ทางนันทนาการได้
                         5.4.  แนวโน้มที่จะเป็นภัยหรือปัญหาสังคมน้อยลง เพราะมีโอกาสได้แสดงออก
  ทางกีฬา